ความเป็นมา

1.ไทยได้ร่วมกับอาเซียนในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - สหภาพยุโรป (ASEAN-EU FTA) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 โดยมีการเจรจารวม 7 ครั้ง และในการเจรจาฯ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2552 ที่มาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศหยุดพักการเจรจา เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการเจรจาคืบหน้าไปค่อนข้างช้า ฝ่ายสหภาพยุโรปมีปัญหาการเมืองระหว่างประเทศเรื่องนโยบายการยอมรับประเทศพม่า ขณะที่สมาชิกอาเซียนต่างๆ ยังมีความแตกต่างในระดับการพัฒนาทำให้มีปัญหา ในเรื่องระดับการเปิดตลาดสินค้าและบริการที่อาเซียนไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป
2.สหภาพยุโรปจึงปรับแนวทางเป็นการเจรจาในระดับทวิภาคีกับสมาชิกอาเซียนที่พร้อมเจรจา 3 ประเทศแรก ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ได้เห็นชอบอย่างเป็นทางการให้เปลี่ยนแนวทางการเจรจาเป็นแบบทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียน
3.สหภาพยุโรป เริ่มต้นการเจรจากับสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 คาดหมายจะสรุปผลการเจรจาภายใน 2 ปี สำหรับมาเลเซียเริ่มการเจรจามาตั้งแต่ปลายปี 2553 สำหรับเวียดนามได้ประกาศที่จะเจรจาสองฝ่ายกับสหภาพยุโรปแล้ว ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ ได้ศึกษาและเตรียมความพร้อมภายใน
ขอบเขตการเจรจา
- ครอบคลุมเรื่องการเปิดตลาดสินค้า บริการ การลงทุน พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคเทคนิคทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ ความโปร่งใส และการพัฒนาที่ยั่งยืน (สิ่งแวดล้อมและแรงงาน)
สถานะล่าสุด (Updated June 9,2011)
การดำเนินการของฝ่ายไทย
1.การรับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง: กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเกษตร ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาครัฐและประชาชนทั่วไป รวม 21 ครั้งระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2553
2.ในทางคู่ขนานกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้หารือกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ พร้อมทั้งจัดจ้างโครงการศึกษาแนวทางการเจรจาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรังปรุงรายงานฉบับสมบูรณ์และเพิ่มเติมประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ได้หารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้หารือ/ รับฟังความคิดเห็นเรื่องสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่กับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับผู้แทนกลุ่มธุรกิจ ผู้ผลิต หน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายภาคประชาสังคม
3.การจัดทำร่างกรอบการเจรจา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 25 หน่วยงาน ได้ยกร่างกรอบการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เสนอต่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการจัดทำความตกลงการค้าเสรีภายใต้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในเบื้องต้นต่อร่างกรอบการเจรจาฯ และให้หารือกับสหภาพยุโรปเรื่องขอบเขตการเจรจา เพื่อหาทางปรับและหาความยืดหยุ่นให้เป้าหมายและความคาดหวังของทั้งสองฝ่ายอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ก่อนนำผลที่ได้รับพร้อมร่างกรอบการเจรจาฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภาต่อไป
การดำเนินการต่อไป
1.ไทยอยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อหารือขอบเขตการเจรจากับสหภาพยุโรป เมื่อสรุปผลการจัดทำขอบเขตการเจรจากับสหภาพยุโรปแล้วจะรายงานผลพร้อมเสนอร่างกรอบการเจรจาฯ ที่ปรับปรุงให้สอดคล้องตามเป้าหมายการเจรจาของทั้งสองฝ่าย เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภาต่อไป
2.การเสนอร่างกรอบการเจรจาต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต้องชะลอออกไป ภายหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการต่อไปตามกระบวนการและขั้นตอนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่จะเกิดขึ้น
สรุปการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- รายงานการพบหารือระหว่างผู้แทนกรม ฯ กับผู้แทนจากสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา)Pharmaceutical Research and Manufacturers Association-PREMA) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 ณ ที่ทำการของสมาคมฯ (รายละเอียด)
- ผลการดำเนินโครงการรับฟัง และประชุมหารือร่วมกับภาคประชาสังคม และผู้ประกอบการภาคใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีทางการค้ากับสหภาพยุโรประหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2552 ณ อำเภอหาดใหญ่ จ. สงขลา(รายละเอียด)
- รายงานการพบหารือระหว่างผู้แทนกรม ฯ กับผู้แทน NGO จากองค์การหมอไร้พรมแดนและมูลนิธิเข้าถึงเอดส์วันที่ 2 กันยายน 2552 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(รายละเอียด)
-รายงานการพบหารือกับกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) วันที่ 11 มกราคม 2553 ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(รายละเอียด)
-ผลการดำเนินโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเปิดเสรีทางการค้าของไทยกับสหภาพยุโรปและอาเซียนระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2553 ณ จังหวัดสงขลา(รายละเอียด)
- การประชุมระดมสมองกลุ่มย่อยในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาและสิ่งแวดล้อมในกรณีหากมีการเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปวันพุธที่ 3 มีนาคม 2553(รายละเอียด)
-ผลการดำเนินโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ของไทยกับสหภาพยุโรป วันที่ 4 มีนาคม 2553 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่(รายละเอียด)
การสัมมนาเวทีสาธารณะ “คิดอย่างไรกับการเปิดเสรีการค้า (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป(EU)”
* วันที่ 29 มีนาคม 2553 ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค
- สรุปประเด็นการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม(รายละเอียด)
-Power Point โดยนายฤทธิ์ ศยามานนท์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายเศรษฐกิจการคลังระหว่างประเทศ การเปิดตลาด-สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม (รายละเอียด)
-Power Point โดย ดร.ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยาคณะกรรมการร่วมฯ 3 สถาบัน (กกร.)(สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สมาคมธนาคารไทย) (รายละเอียด)
-Power Point โดยดร. พจน์ ชุมศรี (รายละเอียด)
-Power Point โดยผศ. ดร. สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (รายละเอียด)
-Power Point โดยบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) (รายละเอียด)
-Power Point โดยบริพัตร ดอนมอญ มูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย(มุมมองการเปิดเสรีการค้า กับ การเข้าถึงด้านสาธารณสุขของประชาชน) (รายละเอียด)
-ข้อมูลด้านแรงงานFTA THAI-EU (รายละเอียด)
-การค้าบริการและการลงทุน (รายละเอียด)
-การเปิดเสรีการค้าบริการ ไทย-สหภาพยุโรป (รายละเอียด)
* วันที่ 20 เมษายน 2553 ณ จังหวัดระยอง
-สรุปผลการจัดสัมมนาเวทีสาธารณะ เรื่อง “คิดอย่างไรกับการเปิดเสรีการค้า (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (EU)” (รายละเอียด)
-Power Point โดย นางสาวอรุณี พูลแก้วผู้อำนวยการสำนักยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (รายละเอียด)
-Power Point โดย ดร.ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยาคณะกรรมการร่วมฯ 3 สถาบัน (กกร.)(สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ สมาคมธนาคารไทย) (รายละเอียด)
-Power Point โดยบริพัตร ดอนมอญ มูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย(มุมมองการเปิดเสรีการค้า กับ การเข้าถึงด้านสาธารณสุขของประชาชน) (รายละเอียด)
- Power Point เรื่องการเปิดตลาดสินค้าบริการ ทรัพย์สินทางปัญญาและสิ่งแวดล้อมภายใต้ FTAโดยดร. วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาฝ่ายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (รายละเอียด)
* วันอังคารที่ 27 เมษายน 2553 จังหวัดมหาสารคาม
- สรุปผลการจัดสัมมนาเวทีสาธารณะเรื่อง “คิดอย่างไรกับการเปิดเสรีการค้า (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (EU)” (รายละเอียด)
- Power Point เรื่องมุมมองการเปิดเสรีการค้า กับ การเข้าถึงด้านสาธารณสุขของประชาชน โดยคุณอนันต์ เมืองมูลไชยมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (รายละเอียด)
-Power Point เรื่องการค้าบริการและการลงทุน โดยคุณบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักเจรจาสินค้าบริการ และการลงทุน (รายละเอียด)
-Power Point เรื่องการเปิดตลาดสินค้าบริการ ทรัพย์สินทางปัญญาและสิ่งแวดล้อมภายใต้ FTAโดยดร. สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข รองคณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (รายละเอียด)
* วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2553 จังหวัดลำปาง
-สรุปผลการจัดสัมมนาเวทีสาธารณะเรื่อง “คิดอย่างไรกับการเปิดเสรีการค้า (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (EU)”
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2553ณ โรงแรมเวียงทอง จังหวัดลำปาง (รายละเอียด)
* วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553 กรุงเทพมหานคร
-โอกาสและความท้าทายของภาคเอกชนในการทา FTA กับ EU โดยสำนักเจรจาการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (รายละเอียด)
-เอกชนไทย คิดอย่างไร พร้อมหรือไม่ต่อ THAI –EU FTA:โอกาส และความท้าทาย โดย ดร. เสน่ห์ เครือแก้ว (รายละเอียด)
-โอกาสและความท้าทายของภาคเอกชนในการทา FTA กับ EU โดย นายรังสรรค์ นิมิตสวรรค์ (รายละเอียด)
-มาตรการรองรับและเตรียมความพร้อมสาหรับภาคเอกชนเมื่อเปิดเสรี THAI-EU FTA โดย นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ (รายละเอียด)
-มาตรการรองรับและเตรียมพร้อม สาหรับภาคเอกชน เมื่อเปิดเสรี THAI –EU FTA โดย นางวิภาศรี ชาลาประวรรตน์ (รายละเอียด)
เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็น
-ข้อมูลประกอบการรับฟังความเห็น เรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-สหภาพยุโรป (รายละเอียด)
-ความคาดหวังในการเจรจาของทั้งสองฝ่าย(รายละเอียด)
-ประเมินผลประโยชน์และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับไทย จากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (รายละเอียด)
-มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barrier to Trade) และมาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary: SPS) ของสหภาพยุโรป (รายละเอียด)
-ผลกระทบของการจัดทำความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป (EU) (รายละเอียด)
-โอกาสทางการค้า และผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทยกับสหภาพยุโรป: รายสินค้า(รายละเอียด)