จดทะเบียนพาณิชย์แล้ว จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วทำบัตรผ่านพิธีศุลกากรแล้วก็มาถึงตัวพระเอกของเราก็คือสินค้าที่จะทำการค้าขาย ส่งออกก่อนอื่นท่านจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงสินค้านั้นว่าถูกจัดไว้อยู่ในหมวดหมู่สินค้าประเภทใด ซึ่งแบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆได้ 3 หมวด คือ
- หมวดสินค้าทั่วไป
- หมวดสินค้าควบคุม
- หมวดสินค้ามาตรฐาน
หมวดสินค้าควบคุม ท่านจะต้องแจ้งและยื่นความจำนงและขออนุญาตจดทะเบียน หรือ
ขอโควต้าตามประกาศของกรมการค้าระหว่างประเทศก่อน
หมวดสินค้ามาตรฐาน จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐาน 11 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ปลาป่น ข้าวหอมมะลิไทย เป็นต้น ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังต้องศึกษาถึงตัวสินค้า ที่จะส่งออกไปยังประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น ว่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน อย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ ซึ่งแต่ละประเทศมีข้อกำหนดออกไปด้วยเช่น ลำไย เป็นผลไม้ 1 ใน 5 ที่มีการลงนามไว้กับประเทศจีนว่า ต้องปฏิบัติร่วมกัน ตามข้อตกลง ดังนี้
- ต้องขึ้นทะเบียนสวน
- ต้องขึ้นทะเบียนโรง packing house
- ต้องมีการตรวจสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้าง
- ต้องมีการวิเคราะห์สารตกค้างอื่น ๆ
- ต้องมีใบรับรองปลอดภัยศัตรูพืช
- ต้องมีฉลากติดที่ข้างกล่องทุกกล่อง ฯลฯ
สำหรับสินค้าเกษตร
สามารถสอบถามเรื่องมาตรฐาน ของบางประเทศได้จากกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรหรือ มกอช. หรือ ผู้ส่งออกสามารถ Email ไปติดต่อกับหน่วยงานมาตรฐานของแต่ละประเทศได้โดยตรงโดยสอบถามจากผู้ซื้อหรือฑูตพาณิชย์ ซึ่งขอรายชื่อฑูตพาณิชย์และ e-mail address ได้จากกรมส่งเสริมการส่งออก นอกจากนั้นอาจขอความช่วยเหลือจากฝ่ายการค้าของสถานฑูต ประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทยได้
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม
ตัวอย่างเช่น ต้องการส่งเตารีดไปอินเดีย จะต้องทราบว่าถูกมาตรฐานบังคับต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจาก Bureau of India standard ต้องเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ และมีการตรวจโรงงาน ระบบควบคุมคุณภาพ เมื่อผ่านเกณฑ์ทุกอย่างแล้วถึงจะได้รับใบอนุญาตให้นำเข้า และให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน บนผลิตภัณฑ์ได้
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบการอาจสอบถามทาง e-mail ไปยังหน่วยงานมาตรฐานของแต่ละประเทศได้โดยตรง นอกจากนั้นยังสามารถขอข้อมูลได้จากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศและสถานฑูตของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
หลังจากศึกษากฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ขั้นตอนสำคัญภายใต้ FTA คือ การศึกษาสิทธิพิเศษทางภาษีที่จะได้รับ หากมีการส่งสินค้าไปยังประเทศที่ไทยไปลงนามทำ FTA ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบว่าเราได้รับการลดหย่อนภาษี หรืออาจมีภาษีที่ต่ำมากหรือไม่มีภาษีได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการส่งสินค้าถูกลง ซึ่งทำให้สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ดีในตลาดต่าง ๆ
วิธีการตรวจสอบคือ เช็คว่าสินค้าของเรานั้นมีพิกัดอะไร สอบถามได้จากกรมศุลกากรและตรวจสอบว่าได้มีการลดภาษีไปแล้วอย่างไร ภาษีไปแล้วอย่างไร ภาษีปัจจุบันเป็นเท่าไร จากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศซึ่งจะเป็นส่วนประกอบในการขายสินค้าของเราให้ได้ในตลาดต่างประเทศ
หลังจากทราบกฎระเบียบและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การหาตลาด ข้อมูลสำคัญที่ควรรู้คือ จำนวนประชากรซึ่งจะเป็นขนาดตลาดของเรา ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ระบบการเงินการธนาคาร และการเมือง อัตราการเจริญเติบโตในอนาคต ช่องทางและลู่ทางการจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งหาได้จากเว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงการต่างประเทศ หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลในต่างประเทศ หลังจากได้ตลาดเป้าหมายแล้ว ก็จะติดต่อลูกค้าได้โดยการขอImporter list หรือรายชื่อผู้นำเข้าในต่างประเทศจากกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อติดต่อกับลูกค้าต่อไป
ติดต่อ : กรมการค้าต่างประเทศ
Call Center 1385 www.dft.go.th
กรมส่งเสริมการส่งออก
Call Center 1169 www.depthai.go.th
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
Call Center 7555 www.dtn.go.th
กรมวิชาการเกษตร
โทร.02-579-0151-7 www.doa.go.th
สำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
โทร.02-283-1600 www.acfs.go.th
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
โทร.02-202-3301-4 www.tisi.go.th