ผลิตภัณฑ์เนยแข็งหรือชีสเป็นสินค้าหนี่งในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยได้ตกลงจะทยอยลดภาษีนำเข้าให้กับผลิตภัณฑ์ชีสที่นำเข้าจากออสเตรเลีย จนเหลือ 0 ภายใน 15 ปี นับแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้ คือเหลือ 0% ภายในปี 2563 และไทยยังสามารถเจรจาขอให้ออสเตรเลียยินยอมให้ไทยใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard : SSG) กับสินค้าอ่อนไหวหลายรายการรวมทั้งผลิตภัณฑ์ชีสด้วย ซึ่งมาตรการหนึ่งภายใต้ SSG คือการกำหนดปริมาณนำเข้าผลิตภัณฑ์ชีสในแต่ละปี ที่จะเรียกเก็บภาษีในอัตราหลังการลดภาษี (ตารางที่ 1) หากมีการนำเข้ามากกว่าปริมาณที่กำหนด ส่วนเกินจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราก่อนหน้าการปรับลดภาษีทันที ซึ่งอัตราภาษีก่อนลดคือประมาณ 30-33 %
ตารางที่ 1 : ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชีสที่ไทยกำหนดในแต่ละปีสำหรับการเสียภาษี
ต่ำภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย
หน่วยปริมาณ : เมตริกตัน
พิกัดสินค้า |
รายการ |
ภาษีก่อนลด |
2548 |
2553 |
2558 |
2563 |
040610 - 20 |
เนยแข็งสดและเป็นผง |
33% |
50 |
63.81 |
81.44 |
103.95 |
040630 |
เนยแข็งแปรรูป |
33% |
550 |
701.95 |
895.89 |
1,143.41 |
040690 |
เนยแข็งอื่นๆ รวมครีมชีส |
30% |
360 |
459.46 |
586.40 |
748.41 |
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ชีสภายใต้ FTA ไทย – ออสเตรเลีย ไทยได้เวลาในการปรับตัว 15 ปี
ไทยสามารถเจรจาให้จีนจัดให้ผลิตภัณฑ์ชีสอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ต้องนำมาเร่งลดภาษี (Early Harvest) โดยจีนยินยอมเริ่มทยอยลดภาษีผลิตภัณฑ์ชีสตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 จนเหลือ 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2549 ทำให้ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ชีสไปยังจีนได้เป็นครั้งแรกในปี 2548 โดยมีมูลค่าส่งออกถึง 43,008 เหรียญสหรัฐ และใน 7 เดือนแรกของปี 2549 ไทยสามารถส่งออกชีสไปจีนมีมูลค่าถึง 141,820 เหรียญสหรัฐ (ตารางที่ 2) ทำให้จีนเป็นผู้นำเข้าชีสรายใหญ่ที่สุดของไทยแทนที่ฟิลิปปินส์ แต่อย่างไร
ก็ตาม คู่แข่งที่น่าจับตามองคือบราซิลและมาเลเซีย
ตารางที่ 2 : การนำเข้าชีสของจีนจากประเทศสำคัญ
ประเทศ |
มูลค่า (เหรียญสหรัฐ) |
ส่วนแบ่งตลาด (เปอร์เซ็นต์) |
2547 |
2548 |
2549 * |
2547 |
2548 |
2549 * |
โลก |
10,456,436 |
14,700,202 |
23,524,832 |
100.00 |
100.00 |
100.00 |
นิวซีแลนด์ |
5,143,975 |
6,679,578 |
9,982,201 |
49.19 |
45.44 |
42.43 |
ออสเตรเลีย |
3,369,609 |
4,410,868 |
6,663,859 |
32.23 |
30.01 |
28.33 |
บราซิล |
0 |
230,766 |
384,854 |
0.00 |
1.57 |
1.64 |
มาเลเซีย |
10,955 |
55,453 |
187,693 |
0.10 |
0.38 |
0.80 |
ไทย |
0 |
43,008 |
141,820 |
0.00 |
0.29 |
0.60 |
หมายเหตุ : ตัวเลขปี 2549 ถึงเดือนกรกฎาคม
ที่มา : Global Trade Statistics
ประเทศไทยมีโรงงานผลิตชีสทั้งหมด 8 โรงงาน ผลิตชีสได้ปีละประมาณ 2,000 ตัน ส่วนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ชีสในประเทศทั้งที่เป็นการบริโภคโดยตรง และเป็นวัตุดิบทางอุตสาหกรรมอาหาร มีรวมกันประมาณ 5,000 – 6,000 ตันต่อปี ทำให้ไทยต้องนำเข้าชีสจากต่างประเทศประมาณ 3,000 – 4,000 ตันต่อปี
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัท ไมเนอร์ ชีส จำกัด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชีสหรือเนยแข็งและไอศครีมรายใหญ่ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดชีสภายใต้ FTA ไทย-ออสเตรเลีย แต่จากการรับฟังผลการดำเนินงานพบว่า การที่ไทยได้มีเวลาสำหรับการปรับตัวอย่างเพียงพอ คือ 15 ปี ก่อนที่ภาษีจะค่อยๆ ทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2563 และยังสามารถนำมาตรการ SSG มาใช้ ทำให้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมชีสของไทยมีไม่มากนัก นอกจากนี้ การที่จีนยอมลดภาษีเป็น 0% เมื่อมกราคม 2549 ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายธุรกิจจากการผลิตชีสเพื่อขายภายในประเทศเป็นการจำหน่ายไปต่างประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียรวมทั้งจีนมากขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันสามารถขยายบริษัทในเครือที่ใช้ชีสเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหาร เช่น เดอะพิซซ่าคอมปานี ซิสเล่อร์ สเวนเซ่น เบเกอร์คิง เป็นต้น และได้รับการตอบรับจากการขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์เหล่านี้ในประเทศจีนเป็นอย่างดี ซึ่งโรงงานกำลังศึกษาลู่ทางและวางแผนจะขยายสาขาไปยังเมืองต่างๆ ในจีน ให้มากขึ้นต่อไป
-----------------------------